การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสาหรับพืช (GAP พืช)

การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช เป็นมาตรฐานการปฏิบัติที่ระบุรายละเอียดข้อกำหนดด้านการจัดการกระบวนการผลิตที่จำเป็นสาหรับการปฏิบัติที่ดีทางการผลิตพืชทุกชนิด โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สุขภาพ ความปลอดภัยและสวัสดิภาพของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ปลอดจากศัตรูพืช เหมาะสมกับการบริโภค และมีคุณภาพเป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภค

9 ข้อพื้นที่ฐานที่ต้องรู้ และนำไปปฏิบัติภายในแปลง ก่อนขอ GAPพืช เพื่อให้การตรวจประเมิน ผ่านไปได้ด้วยดี เป็นที่มั่นใจของผู้บริโภค

1.แหล่งน้า

– แหล่งน้ำต้องสะอาด ไม่มีการปนเปื้อนของวัตถุหรือสิ่งที่เป็นอันตราย

2.พื้นที่ปลูก

– ต้องไม่มีวัตถุหรือสิ่งที่เป็นอันตรายที่จะทำให้เกิดการตกค้างหรือปนเปื้อน

3.การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร

– ใช้ตามคำแนะนาหรืออ้างอิงของกรมวิชาการเกษตร หรือตามฉลากที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องกับ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

– ใช้สารเคมีที่ประเทศคู่ค้าอนุญาตให้ใช้

– ห้ามใช้วัตถุอันตรายที่ระบุในทะเบียนวัตถุอันตรายที่ทางราชการห้ามใช้

4.การจัดการกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตผลคุณภาพ

– ปฏิบัติและจัดการการผลิตตามแผนควบคุมการผลิต

5.การผลิตให้ปลอดจากศัตรูพืช

– สารป้องกัน และกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้อง

– ผลิตผลที่เก็บเกี่ยวแล้วต้องไม่มีศัตรูพืชติดอยู่ ถ้าพบต้องคัดแยกไว้ต่างหาก

6.การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว

– เก็บเกี่ยวผลผลิตในระยะเวลาที่เหมาะสมตามแผนควบคุมการผลิต

– อุปกรณ์ ภาชนะบรรจุที่ใช้ รวมถึงวิธีการเก็บเกี่ยว ต้องสะอาด ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อคุณภาพของ ผลิตผล และไม่ปนเปื้อนสิ่งอันตรายที่มีผลต่อการบริโภค

– คัดแยกผลิตผลที่ไม่มีคุณภาพไว้ต่างหาก

7.การเก็บรักษาและการขนย้ายผลิตผลภายในแปลงเพาะปลูก

– สถานที่เก็บรักษาต้องสะอาด อากาศถ่ายเทได้ดี สามารถป้องกันการปนเปื้อนของวัตถุ แปลกปลอม วัตถุอันตราย และสัตว์พาหะนำโรค

– อุปกรณ์และพาหนะในการขนย้ายต้องสะอาด ปราศจากการปนเปื้อนสิ่งอันตรายที่มีผลต่อ ความปลอดภัยในการบริโภค

– ต้องขนย้ายผลิตผลอย่างระมัดระวัง

8.สุขลักษณะส่วนบุคคล

– ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ที่เหมาะสม หรือผ่านกระบวนการอบรมการปฏิบัติที่ถูกต้อง และถูกสุขลักษณะ

– มีการดูแลสุขลักษณะส่วนบุคคล เพื่อป้องกันไม่ให้ผลิตผลเกิดการปนเปื้อนจากผู้ที่สัมผัสกับผลิตผล โดยตรง โดยเฉพาะในขั้นการเก็บเกี่ยวและหลังการเก็บเกี่ยวสาหรับพืชที่ใช้บริโภคสด

9.การบันทึกข้อมูล

– บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยการผลิต การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร ข้อมูลการขยายผลผลิต รวมถึงการปฏิบัติในทุกขั้นตอน

– ต้องมีการบันทึกข้อมูลการสารวจและการป้องกันการกำจัดศัตรูพืช

– ต้องมีการบันทึกข้อมูลผู้รับซื้อผลิตผล หรือแหล่งที่น้ำผลิตผลในแต่ละรุ่นไปจำหน่าย
แบบจดบันทึกข้อมูลประจำแปลง GAP

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here