ที่รกร้างจะลดภาษียังไงได้บ้าง?

อัตราภาษีที่รกร้างว่างเปล่าและอื่นๆ
มูลค่า 0-50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.3
50-200 ล้านบาท อัตราภาษี 0.4
200-1,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.5
1,000-5,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.6
5,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.7

ภาระภาษี ที่รกร้างว่างเปล่าและอื่นๆ
มูลค่า 50 ล้านบาท ภาระภาษี 150,000 บาท
100 ล้านบาท ภาระภาษี 350,000 บาท
200 ล้านบาท ภาระภาษี 750,000 บาท
1,000 ล้านบาท ภาระภาษี 4,750,000 บาท

**ที่รกร้างว่างเปล่าเพิ่มอัตรา 0.3% ทุกปี แต่อัตราภาษีรวมไม่เกิน 3%

หากเปลี่ยนที่รกร้างเป็นที่ดินเกษตรกรรม เสียภาษียังไง?

ที่ดินเกษตรกรรม
มูลค่า 0-75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.01
มูลค่า 75-100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03
มูลค่า 100-500 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05
มูลค่า 500-1,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.07
มูลค่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.01

บุคคลธรรมดาได้รับยกเว้น อปท. ละไม่เกิน 50 ล้านบาท และมีภาระภาษีดังนี้
มูลค่า 50 ล้านบาท ค่าภาษี 0 บาท
มูลค่า 100 ล้านบาท ค่าภาษี 5,000 บาท
มูลค่า 200 ล้านบาท ค่าภาษี 40,000 บาท

แนวคิดปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง

The rows of agricultural crops in the field

ประโยชน์ของป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง

พอกิน

คือ การปลูกต้นไม้ที่กินได้ รวมทั้งใช้เป็นยาสมุนไพร ไม้ในกลุ่มนี้ เช่น แค มะรุม ทุเรียน สะตอ ผักหวาน ฝาง แห้ม กล้วย ฟักข้าว ไม้ผลต่าง ๆ
พอใช้

คือ การปลูกต้นไม้ให้เป็นป่าไม้ สำหรับทำเครื่องใช้สอยในครัวเรือน อาทิ ทำฟืน เผาถ่าน ทำงานหัตถกรรม หรือทำน้ำยาซักล้าง ไม้ในกลุ่มนี้ เช่น มะคำดีควาย หวาย ไผ่ หมีเหม็น
พออยู่

คือ การปลูกต้นไม้ที่ใช้เนื้อไม้และไม้เชิงเศรษฐกิจให้เป็นป่า ไม้กลุ่มนี้เป็นไม้อายุยืนเพื่อใช้สร้างบ้าน ทำเครื่องเรือน ต้นไม้กลุ่มนี้ เช่น ตะเคียนทอง ยางนา สัก พะยูง พยอม
พอร่มเย็น

คือ ประโยชน์อย่างที่ 4  ที่เกิดจากการปลูกป่า 3 อย่าง จะช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศดินและน้ำให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ ร่มรื่น และฉ่ำเย็นขึ้นมา

การปลูกป่า 5 ระดับแบบกสิกรรมธรรมชาติ

ประกอบด้วยต้นไม้หลากหลายชนิดพันธุ์ โดยเราสามารถจัดแบ่งตามระดับช่วงความสูงและระบบนิเวศได้ 5 ระดับ ดังนี้

  1. ไม้สูง เป็นกลุ่มไม้เรือนยอดสูงสุดและอายุยืน ไม้ในระดับนี้ เช่น ตะเคียน ยางนา เต็ง รัง
  2. ไม้กลาง เป็นกลุ่มต้นไม้ที่ไม่สูงนัก ไม้ในระดับนี้ ได้แก่ บรรดาไม้ผลที่เก็บกินได้ เช่น มะม่วง ขนุน มังคุด กระท้อน ไผ่ สะตอ
  3. ไม้เตี้ย เป็นกลุ่มต้นไม้พันธุ์พุ่มเตี้ย ไม้ในระดับนี้ เช่น พริก มะเขือ กะเพรา ติ้ว ผักหวานบ้าน เหลียง
  4. ไม้เลื้อยเรี่ยดิน ไม้ในระดับนี้เป็นตระกูลไม้ล้มลุกที่ทอดยอดเลื้อยได้ เช่น พริกไทย รางจืด ฟักทอง แตงกวา
  5. ไม้หัวใต้ดิน ไม้หัวอยู่ใต้ดิน ไม้ในระดับนี้ คือ มัน เผือก กลอย กวาวเครือ ขิง ข่า

ลงทะเบียนรับเอกสาร “ไม้ยืนต้นมีมูลค่า”  มูลค่า 99 บาท คลิ๊ก!!!