ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม มีพื้นที่ปลูกพืชมากมาย แต่เนื่องจาก เราประสบปัญหา สารเคมี ที่เกิดจาก ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช จึงทำให้มีนวัตกรรมต่างๆเกิดขึ้น การปลูกพืชไม่ใช้ดิน เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาดังกล่าว มาลองศึกษาการปลูกพืชไม่ใช้ดินกันดูนะคะ
ความหมายของคำว่า “การปลูกพืชไร้ดิน”
การปลูกพืชไร้ดินเป็นคำที่แปลมาจากภาษาอังกฤษ 2 คำคือคำว่า Soilless Culture และ Hydroponics ซึ่งสามารถอธิบายได้ 2 ลักษณะ คือ
1. คำว่า “Soilless culture” เป็นวิธีการปลูกพืชเลียนแบบการปลูกพืชบนดินแต่ไม่ใช้ดินเป็นวัสดุปลูก แต่เป็นการปลูกพืชลงบนวัสดุชนิดต่างๆ เช่น แผ่นฟองน้ำ ทราย กรวด ขี้เลื่อย แกลบ ขุยมะพร้าว ฯลฯ แทนดิน โดยพืชสามารถเจริญเติบโตบนวัสดุปลูกที่ใช้เป็นที่ยึดเกาะและจากการได้รับสารละลายธาตุอาหารพืช ที่มีน้ำที่ผสมกับแร่ธาตุต่างๆ (หรือปุ๋ย) ที่พืชต้องการจากทางรากพืช
2. คำว่า “Hydroponics” เป็นการปลูกพืชที่ไม่ใช้วัสดุปลูก กล่าวคือ จะทำการปลูกพืชลงในสารละลายธาตุอาหารพืช โดยให้รากพืชสัมผัสกับสารอาหารโดยตรง (bare roots) hydroponics มาจากการรวมคำในภาษากรีกสองคำ คือ คำว่า “hydro” หมายถึง “น้ำ” และ “ponos” หมายถึง “งาน” ซึ่งเมื่อรวมคำสองคำเข้าด้วยกันความหมายก็คือ “water-working” หรือหมายถึง “การทำงานของน้ำ (สารละลายธาตุอาหาร)” ผ่านทางรากพืช ดังนั้น การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน จึงหมายถึงวิธีการปลูกพืชเลียนแบบการปลูกพืชบนดิน โดยปลูกพืชลงบนวัสดุปลูกหรือสารอาหาร โดยไม่ต้องมีวัสดุปลูกก็ได้ เพื่อให้พืชได้รับสารอาหาร หรือสารละลายธาตุอาหารพืชที่มีน้ำที่ผสมกับแร่ธาตุที่ต้องการจากทางรากพืช
ในปัจจุบันการปลูกพืชไร้ดิน (Hydroponics) เป็นที่นิยมกัน อย่างกว้างขวาง มีการปลูกในระดับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และทำรายได้ให้แก่ ผู้ประกอบการเป็นอย่างดี ทั้งนี้เนื่องมาจากว่าผู้บริโภคในยุคปัจจุบันได้หันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับสุขภาพกันมากขึ้น จึงเลือกที่จะบริโภคผักที่ปลูกในระบบ Hydroponics ซึ่งมีการปลูกในโรงเรือนที่ควบคุมแมลงศัตรูพืชได้ ทำให้มีการใช้ สารเคมีน้อยลง ผักที่ได้จึงเป็นผักอนามัย มีการปนเปื้อนสารเคมีน้อยมากและเป็นทางเลือกหนึ่งที่ผู้บริโภคหันมาให้ความสนใจมากขึ้น อีกทั้งการปลูกและ การจัดการต่างๆ ไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด ทุกคนสามารถปลูกเองได้ทุกครัวเรือน เพื่อบริโภคภายในครอบครัว ทำให้ได้บริโภคผักที่สด สะอาดปลอดภัย และช่วยเสริมสร้าง สุขภาพร่างกายให้แข็งแรงและยังเป็นการทำกิจกรรมร่วมกันภายในครอบครัว สร้างความผูกพันและความอบอุ่นให้เกิดขึ้นกับครอบครัวได้อีกทางหนึ่งด้วย

|

ผักสลัด
แคลเซียม (Ca) 35-45
ฟอสฟอรัส (P) 25-35
เหล็ก (Fe) 1.3-2.0
โซเดียม (Na) 7.0-9.0
โพแทสเซียม (K) 250-280
องค์ประกอบที่เป็นวิตามิน (มิลลิกรัม/ 100 กรัม)
วิตามิน เอ ( IU/ 100 กรัม)1,000-2,000
วิตามิน บี 1 100-150
วิตามิน บี2 80-100
ไนอาซีน 0.3-0.6
วิตามิน ซี 25-30
องค์ประกอบทางอินทรีย์สาร (กรัม/ 100 กรัม)
น้ำ 92-93
เส้นใย 0.8-0.9
โปรตีน 2.5-4.0
คาร์โบไฮเดรต 6.0-8.0
![]() |
ผักสลัด ฟิลเลย์ ไอซ์เบิร์ก (Frillice Iceberg) เป็นพืชล้มลุก ใบมีสีเขียวห่อหุ้มซ้อนกันเป็นลูกกลมคล้ายกะหล่ำปลีหัว กาบใบด้านนอกห่อซ้อนกันเป็นชั้น และห่อหัวเมื่ออากาศเย็น ปลายใบหยักเป็นฝอยก้านใบกรอบ น้ำหนัก 170- 200 กรัม/ต้น |
![]() |
ผักสลัดบัตเตอร์เฮด (Butter Head) เป็นพืชล้มลุก ลักษณะห่อหัว ใบมีสีเขียว กาบใบห่อซ้อนกันเป็นชั้น น้ำหนัก 170-200 กรัม/ต้น |
![]() |
ผักสลัด กรีนโอ๊ค (Green Oak) เป็นพืชล้มลุกไม่ห่อหัว ใบมีสีเขียวซ้อนกันเป็นชั้น ปลายใบหยักเป็นลอน โค้งมน น้ำหนัก 160-190 กรัม/ต้น |
![]() |
ผักสลัด เรดคอรัล (Red Coral) เป็นพืชล้มลุก ไม่ห่อหัว ก้านใบสีเขียวคล้ำ ช่วงกลางถึงปลายใบมีสีแดง ใบซ้อนกันเป็นชั้น ปลายใบหยักเป็นคลื่น ขอบใบหยัก ไม่หุ้มติดกัน น้ำหนัก 100-140 กรัม/ต้น |
![]() |
ผักสลัด คอส (Cos ) เป็นพืชล้มลุก ใบมีสีเขียวห่อหุ้มซ้อนกัน กาบใบด้านนอกห่อซ้อนกันเป็นชั้น และห่อหัวเมื่ออากาศเย็น ปลายใบหยัก ก้านใบกรอบ น้ำหนัก 190-210 กรัม/ต้น |
![]() |
ผักสลัด เรดโอ๊ค (Red Oak) เป็นพืชล้มลุก ไม่ห่อหัว ก้านใบสีเขียวคล้ำออกไปทางน้ำตาลแดง ช่วงกลางถึงปลายใบมีสีแดงถึงน้ำตาลแดงเข้ม ใบซ้อนกันเป็นชั้น ปลายใบหยักเป็นลอน ลักษณะโค้งมน แต่เป็นเหลี่ยมและมีรอยเป็นแฉกชัดเจน มากกว่ากรีนโอ๊ค น้ำหนัก 130-170 กรัม/ต้น |