การประเมินผลผลิตและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในผักไมโครกรีน 13 ชนิด

จากการประเมินผลผลิต และสารออกฤทธิ์ทาง
ชีวภาพในผักไมโครกรีน 13 ชนิด สรุปได้ว่า

1. ผักไมโครกรีนที่ได้จากการเพาะเมล็ดฟักทอง
ให้ผลผลิตสูงที่สุด รองลงมา คือ ทานตะวัน และ
ผักขี้หูด ซึ่งมีค่าเท่ากับ 647.6 608.4 และ 485.3 กรัม
ต่อถาด (30 x 60 x 3 เซนติเมตร) ตามลำดับ

2. ผักไมโครกรีนที่มีแอนโทไซยานินรวมสูงสุด
ได้แก่ ถั่วลันเตา ผักกาดม้ง และฟักทอง มีค่าเท่ากับ
0.0585 0.0320 และ0.0279 มิลลิกรัม Cyanidin3-glucoside equivalents / 100 กรัมน้ำหนักสด
ตามลำดับ
ปริมาณสารฟีนอลสูงที่สุด ได้แก่ ผักกาดหอม
รองลงมา คือ ผักบุ้ง และทานตะวัน มีค่าเท่ากับ 4.047
3.705 และ 2.763 มิลลิกรัม Gallic acid equivalents/
100 กรัมน้ำหนักสด
ส่วนปริมาณแคโรทีนอยด์สูงที่สุด
ได้แก่ ถั่วลันเตา ผักโขมขาว และผักโขมแดง มีค่า
เท่ากับ 4.87 4.70 และ 3.69 ไมโครกรัมต่อ 1 กรัม
น้ำหนักสด
และการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ โดยวิธี
DPPH สูงที่สุด ได้แก่ ผักโขมขาว ฟักทอง และ
ผักกาดเขียวน้อย มีค่าสูงที่สุด คือ 77.21 62.16 และ
58.24 เปอร์เซ็นต์