ข้าวโพดเทียน  สายพันธุ์พื้นบ้าน แต่เดิมคนไทยมีการปลูกข้าวโพดเพื่อเป็นอาหารอยู่ทั่วทุกภาคของไทย เป็นสายพันธุ์พื้นเมือง สายพันธุ์ต่างๆกันไปตามแต่ละท้องถิ่น ปัจจุบันมีข้าวโพดสายพันธุ์อื่นๆเพื่อการพาณิชย์มาปลูกในไทยมีหลากหลายสายพันธุ์ ทำให้ข้าวโพดพื้นบ้านมีการปลูกลดน้อยลงไป จึงควรมีการอนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมเพื่อไม่ให้สูญพันธุ์

การจัดแปลงปลูกควรให้มีระยะห่างระหว่างแถว 50-75 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างหลุม 20-25 เซนติเมตร หยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด 1-2 เมล็ด ลงในหลุมปลูก ลึกประมาณ 5 เซนติเมตร การปลูกเป็นแถวจะสะดวกในการเข้าไปปฏิบัติดูแลรักษา เมื่อเมล็ดงอกแล้วให้ถอนเหลือ 1 ต้น ต่อหลุม การปลูกวิธีนี้จะได้ต้นข้าวโพด 8,500-16,000 ต้น ต่อไร่ อายุการปลูก 54-58 วัน ก็เก็บเกี่ยวได้ หากมีการปฏิบัติดูแลอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการจะทำให้เกษตรกรมีรายได้ 25,000 บาท ต่อไร่ เป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ที่น่าสนใจ

แนวโน้มในอนาคตของข้าวโพดฝักสด

1. เป็นพืชที่มีศักยภาพในการแข่งขันการส่งออกสูงเพราะข้าวโพดฝักสดสามารถแปรรูปผลผลิตได้หลายรูปแบบ สามารถส่งออกได้ทั้งในตลาดยุโรป อเมริกา อาฟริกา นอกจากนี้ ตลาดภายในประเทศก็มีความต้องการบริโภคมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมเมือง
2. การส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวโพดฝักสดไม่มีปัญหาทางด้านโภชนาการ เนื่องจาก ในขั้นตอนการผลิตมีการใช้สารเคมีน้อย ส่งผลให้ผลผลิตที่ได้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคสูง เพราะไม่มีสารพิษตกค้าง หรือมีน้อยมาก
3. เป็นพืชที่มีศักยภาพการผลิตสูง สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ง่ายเพราะเป็นพืชระยะเวลาการผลิตสั้น (ใช้ระยะเวลาเพียง 45-50 วัน สำหรับข้าวโพดฝักอ่อน และ 70-75 วัน สำหรับข้าวโพดหวาน) และสามารถปลูกได้ตลอดปี ดูแลรักษาง่าย ให้ผลผลิตสูงมีความเสี่ยงต่ำ ใช้สารเคมีน้อย การเพิ่มคุณภาพและผลผลิตสามารถทำได้โดยใช้พันธุ์และวิธีการผลิตที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังเป็นพืชที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกรในชนบท โดยเฉพาะในเขตที่มีน้ำชลประทาน
4. เป็นพืชที่มีศักยภาพในการนำไปผลิตเป็นพืชอินทรีย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวโพดฝักอ่อนและข้าวโพดหวาน เพราะเป็นพืชที่มีแมลงศัตรูน้อย นอกจากนี้ พันธุ์ที่ใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่มีความต้านทานโรคที่สำคัญได้ดีพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวโพดฝักอ่อน

ตลาด และผลตอนแทน

ข้าวโพดหวานประมาณร้อยละ 50 ที่ผลิตได้ในประเทศไทยจะถูกนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานเพื่อส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ เช่น ในปี 2548 คิดเป็นประมาณ 109,774 ตัน มูลค่า 3,200 ล้านบาท ซึ่งจัดอยู่ในลำดับที่ 4 ของประเทศผู้ส่งออกข้าวโพดหวานในตลาดโลกข้าวโพดหวานและข้าวโพดฝักอ่อนที่เก็บส่วนของฝักออกไปใช้ประโยชน์แล้ว ส่วนของต้นและใบยังคงเหลือในแปลงรวมไปถึงกาบหุ้มฝัก ไหม ช่อดอกตัวผู้ของข้าวโพดฝักอ่อนและ ซังข้าวโพดที่เหลือจากโรงงานอุสาหกรรมยังสามารถนำเป็นอาหารสัตว์ได้ดี

การใช้ประโยชน์

1. ใช้เมล็ดสุกแก่ เป็นข้าวโพดที่เก็บเกี่ยวเมล็ดแก่มาใช้ประโยชน์เพื่อการบริโภคทั้งมนุษย์หรือสัตว์ หรือใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตแป้งหรือน้ำมัน
2 . ใช้บริโภคฝักสด คือ ข้าวโพดที่ปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวฝักที่ยังอ่อนหรือ เมล็ดที่ยังไม่แก่ไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้แก่ ข้าวโพดฝักอ่อน ข้าวโพดหวาน และข้าวโพดข้าวเหนียว
3. ใช้เป็นพืชอาหารสัตว์ คือ ข้าวโพดที่ปลูกแล้วตัดต้นในระยะก่อนแก่ เพื่อนำข้าวโพดทั้งต้นไปทำหญ้าสด หญ้าหมัก หรือหญ้าแห้ง
4. ใช้ฝักสำหรับประดับ (ornamental corn) คือ ข้าวโพดที่เมล็ดบนฝักเดียวกันมีหลายสีเนื่องจากการสะสม pigment ที่แตกต่างกัน เช่น ข้าวโพดแฟนซี ข้าวโพดอัญมณี  สามารถใช้เป็นข้าวโพดประดับได้

 

สนใจเชื้อพันธุ์ข้าวโพดเทียน คลิ๊ก