Microgreens vs garden
Microgreens vs garden

6 ข้อแตกต่างระหว่างปลูกผักไมโครกรีนกับปลูกผักในแปลง

เทคนิคการปลูกผักในแปลง กับการปลูกผักไมโครกรีนที่ปลูกในกระบะและอยู่ในที่ร่มนั้นมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เช่น การปลูกผักในแปลงนั้นเราจะปลูก หรือวางเมล็ดที่ระยะห่างเท่าๆกัน แล้วกลบเมล็ด จากนั้นเราจึงรดน้ำให้ชุ่มเพื่อให้เมล็ดงอก แต่หากเป็นผักไมโครกรีน เราจะทำการรดน้ำบนวัสดุปลูกให้ชุ่มก่อนลงปลูก จากนั้นเราจะนำเมล็ดที่ผ่านการแช่น้ำเพื่อกระตุ้นการงอกแล้วมาโรยโดยวางเมล็ดชิดๆกันโดยไม่จำเป็นต้องมีระยะปลูก 6 ข้อแตกต่างระหว่างปลูกผักไมโครกรีนกับปลูกผักในแปลง ได้แก่

1.การรดน้ำก่อนลงปลูก
มีการเตรียมเมล็ดโดยการแช่เมล็ดก่อนลงปลูก เป็นการกระตุ้นความงอกของเมล็ดเหมาะกับพืชที่มีเมล็ดขนาดใหญ่และเป็นปัจจัยสำคัญ ในการงอกอย่างรวดเร็ว ของผักไมโครกรีน

2.การวางเมล็ดบนดินหรือวัสดุปลูก
การปลูกบนดินนี้จะช่วยประหยัดเวลาการงอกได้ 1-2 วัน เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการดันดินขึ้นไป นอกจากนี้ยังทำให้ได้ต้นกล้าที่สะอาด และลดโอกาสการเกิดโรครากเน่าโคนเน่า หรือเชื้อรา เนื่องจากความชื้นสะสมน้อย และทำความสะอาดผักไมโครกรีนได้ง่ายหลังเก็บเกี่ยว

3.ระยะปลูก
หากปลูกในแปลงต้องใช้ระยะห่างถึง 50 ฟุต ในการปลูกต้นทานตะวัน หากปลูกผักไมโครกรีนั้นสามารถใช้พื้นที่เพียง 1\8 ตารางฟุต การปลูกผักไมโครกรีนนี้จะได้ผลผลิตมากในพื้นที่ขนาดเล็กที่สุด โดยที่เมล็ดมีพื้นที่เพียงพอให้รากลงดินและได้รับแสงสว่างได้

4.ปลูกในที่มืด
ผักไมโครกรีนจำเป็นต้องปลูกในที่มืดในช่วงแรกเพื่อให้ลำต้นยืดยาว เนื่องจากธรรมชาติของพืชจะพยายามยืดหาแสง ก่อนเก็บเกี่ยว 3-4 วัน ให้นำออกไปไว้ที่มีแสง เช่น แสงหลอดไฟ หรือ พรางในโรงเรือนพรางแสง จะทำให้ต้นผักไมโครกรีนมีความแข็งแรง และลำต้นที่ยาวนั้นจะทำให้การเก็บเกี่ยวนั้นง่าย

5.ปลูกผักได้ทุกวันโดยไม่ต้องรอฤดูกาล
ผักไมโครกรีนเป็นผักที่มีขนาดเล็ก ใช้พื้นที่ปลูกน้อย และใช้ระยะเวลาในการปลูกน้อย ไม่ต้องอาศัยฤดูกาล หรือรอฤดูเพาะปลูก ทำให้สามารถวางแผนการปลูกได้ตลอดเวลา

6.ได้ทานผักที่มีคุณค่าทางอาหารเทียบเท่ากับมล็ด
ในพืชบางชนิดที่นิยมทานเมล็ด เช่นถั่ว หากนำมาเพาะเป็นผักไมโครกรีน พบว่า มีคุณค่าทางอาหารเทียบเท่ากับทานเมล็ดถั่วเลยทีเดียว นอกจากนี้การทำให้งอก พบว่าต้นพืชจะสร้างฮอร์โมนขึ้นมา ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมากอีกด้วย