คุณสมบัติผู้ยื่นคําขอรับรอง GAP
๑.  เกษตรกรผู้กรรมสิทธิ์ ” หมายถึง เกษตรกรที่เป็นเจ้าของที่ดินและเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์
ในที่ดินดังกล่าวตามความประมวลกฎหมายที่ดินประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยแบ่งประเภท
ได้ดังต่อไปนี้
๑.๑ ใบไต่สวน หรือ น.ส. ๕ หมายถึง หนังสือแสดงการสอบสวนเพื่อออกโฉนดที่ดินเป็น
หนังสือแสดงสิทธิ์ในที่ดินที่จะจดสิทธิ์และนิติกรรมใดๆได้ เช่น โฉนดที่ดิน
๑.๒ โฉนดที่ดิน (น.ส. ๔ , น.ส.๔ก ฯลฯ) หมายความถึงหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินและ
หมายรวมถึงโฉนดแผนที่ โฉนดตราจอง และตราจองที่ตราว่าทําประโยชน์แล้ว
๒. ” เกษตรกรมีสิทธิใช้ระโยชน์ในที่ดิน ” นั้น หมายถึง เกษตรกรที่เป็นเจ้าของที่ดินแต่ยังไม่
สมบูรณ์ หรืออาจไม่ใช่เจ้าของที่ดินโดยตรงแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินได้อาทิเช่น
๒.๑ ใบจอง (น.ส.๒) หมายความถึงหนังสือแสดงการยอมรับให้ครอบครองที่ดินชั่วคราวเป็นหนังสือแสดงสิทธิ์ในที่ดินที่ทางราชการออกให้เนื่องจากการจับจองตามประมวลกฎหมายที่ดินแต่ยังไม่ให้สิทธิ์ในที่ดินโดยสมบูรณ์ ไม่สามารถนําไปจดทะเบียน ขาย จํานองตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ แต่สามารถเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทได้
๒.๒ หนังสือรับรองการทําประโยชน์ หมายความถึงหนังสือคํารับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าได้ประโยชน์ในพื้นที่แล้วมีเพียงสิทธิ์ครอบครองมี ๓ รูปแบบ คือ
– แบบ น.ส.๓ เป็นแบบธรรมดาออกในพื้นที่ทั่วไป
– แบบ น.ส.๓ ก ออกเฉพาะในพื้นที่ที่ได้สร้างระวางทางอากาศแล้ว
– แบบหมายเลข ๓ ออกได้ทุกพื้นที่วิธีการวิธีการออกเหมือนกับ น.ส.๓ แต่ปัจจุบันไม่
มีการออกแล้ว                                                                                                                   ๒.๓ กรณีเกษตรกรเช่าที่ดินจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ทําเกษตรกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ
๒.๔ กรณีเกษตรเช่าที่ดินเพื่อทําเกษตรกรรมตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม  พ.ศ. ๒๕๒๔
๓. ” เกษตรกรได้รับสิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดินจากหน่วยงานราชการ ” หมายถึง เกษตรกรที่ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดินของราชการ อาทิเช่น
๓.๑ ส.ป.ก กรณีที่เกษตรกรได้รับการจัดสรรปันส่วนของสํานักปฏิรูปเพื่อการเกษตรให้ทํา
การเกษตรในพื้นที่ได้
๓.๒ ก.ส.น กรณีได้รับจัดสรรให้ใช้ที่ดินกรมส่งเสริมสหกรณ์ โดย ก.ส.น ๕ เรียกว่าจะออก
หนังสือแสดงการทําประโยชน์ ให้แก่สมาชิกนิคมสหกรณ์นั้นๆ เพื่อนําเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการดําเนินการที่ตนเป็นสมาชิกอยู่เมื่อได้รับอนุญาตแล้วสมาชิกนิคมสหกรณ์ผู้นั้นก็สามารถนําหลักฐานดังกล่าวไปออกโฉนดที่ดินหรือ น.ส.๓ โดยผู้ได้มาซึ่งที่ดินจะโอนที่ดินไปให้ผู้อื่นไม่ได้ เว้นแต่จะตกทอดทางมรดกหรือโอนไปยังสหกรณ์ที่เป็นสมาชิกอยู่ภายใต้กําหนดเวลาดังกล่าว ที่ดินนั้นไม่อยู่ในความรับผิดชอบแห่งการบังคับคดีพ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. ๒๕๑๑
๓.๓ น.ค.๓ เป็นหนังสือแสดงการทําประโยชน์ ซึ่งออกให้นิคมสร้างตนเองตาม พ.ร.บ.
จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.๒๕๑๑
๓.๔ ส.ทก.เป็นหนังสือทํากินในเขตป่าไม้ ซึ่งทางกรมป่าไม้เป็นผู้ออกให้
๔. กรณีที่ ภ.บ.ท.๕ นั้น สามารถใช้อ้างอิงเป็นสิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดินจากทางราชการได้หรือไม่   ในประเด็นนี้ตามพระราชบัญญัติภาษีบํารุงท้องที่ พ.ศ. ๒๕๐๘ ภ.บ.ท.๕ ถือได้ว่าเป็นเพียงแบบรายการที่ชื่อ เรียกตามการเสียภาษีโรงเรือนที่ดินที่ใช้สําหรับการเรียกเก็บภาษีพื้นที่โดยมีลักษณะมุ่งให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสียภาษีบํารุงท้องถิ่นตามที่กระทรวงมหาดไทยประกาศกําหนด มิได้มีลักษณะเป็นประเภทกรรมสิทธิ์การยึดถือครอบครองหรือใช้ที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน ดังนั้นแม้จะมีการเสียภาษีโดยมีการอ้างแบบ ภ.บ.ท.๕ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิในที่ดินที่จะใช้ยันต่อรัฐได้แต่อย่างใด

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here